English
Thai
Home Product Service Order Article News Rewards
Home Product Service Order Article News Rewards
About The Refresher Thai Join Us Contact Us

มหัศจรรย์จากธรรมชาติ


สมุนไพรเป็นสิ่งมหัศจรรย์จากธรรมชาติ ที่บรรพบุรุษไทยของเราใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านศึกษาอย่างชาญฉลาด จนนำไปสู่การปรับใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อช่วยในการดูแลสุขภาพกายใจ และยังมีผลไม้ไทยอีกหลายชนิด ที่มีสรรพคุณและประโยชน์ที่หลากหลาย ช่วยเพิ่มความสดชื่น กระปรี้กระเปร่า แถมยังได้มีสุขภาพที่ดีด้วย



มหัศจรรย์จากธรรมชาติ

มาลองดูกันเลย.....

น้ำมะตูม น้ำกระเจี๊ยบ น้ำลำไย
     
น้ำส้ม น้ำเฉาก๊วย น้ำเก๊กฮวย



มะตูม

มะตูมเป็นไม้ยืนต้น โดยมีชื่อพื้นเมืองหลายอย่างและใช้เรียกกันแตกต่างไป เช่น ตูม  ตุ่มตัง  กะทันตาเถร (ปัตตานี)  มะปิน (เหนือ) บักตูม หมากตูม (อีสาน)

มะตูมถูกนำมาทำเป็นเครื่องดื่มประจำครอบครัวของคนไทยมาตั้งแต่ยุคโบราณกาล ซึ่งมีสรรพคุณทางยา และมีคุณประโยชน์ทางอาหารมากมาย จึงถือได้ว่า มะตูม เป็นพืชสมุนไพรยอดฮิตชนิดหนึ่ง ที่ตลาดสมุนไพรขาดไม่ได้ และผู้บริโภคก็หาซื้อได้ง่าย



ลักษณะของมะตูม ผลมีผิวเกลี้ยง เปลือกหนาและแข็ง ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลือง ในผลมะตูมมีเมล็ดตรงกลางเป็นพู มียางเหนียวใส นำมาใช้เป็นกาวจากธรรมชาติได้ เนื้อมะตูมมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เวลานำมาต้มเป็นชาจะมีกลิ่นหอมมาก เวลาสุกเนื้อจะนิ่มเป็นสีเหลืองหอมและมีรสหวานด้วย

ะตูมที่เราพบเห็นกันในปัจจุบัน ส่วนมากจะอยู่ในรูปของมะตูมแห้งเป็นแว่นที่มีขายตามร้านยาแผนโบราณ, ร้านขายสมุนไพรเพื่อสุขภาพ สำหรับผู้ที่รักและห่วงใยสุขภาพเท่านั้น ซึ่งนิยมนำมะตูมแว่นมาต้มเป็นน้ำมะตูมที่มีกลิ่นหอม สำหรับดื่มให้ชื่นใจ แก้กระหายน้ำ แถมยังให้คุณค่าอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกมากมายด้วย เช่น


  • เปลือกของรากและลำต้นของมะตูม สามารถลดไข้ และใช้เป็นยารักษาไข้มาลาเรียในสมัยก่อน ขับลมในลำไส้

  • ราก แก้พิษฝี พิษไข้ รักษาน้ำดี

  • ใบสด แก้ไอ ขับเสมหะ หากมีอาการหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ให้เอาใบมะตูมดิบๆ มาคั้นเอาน้ำเพื่อดื่ม ช่วยบรรเทาอาการไอและเสมหะเรื้อรังลงได้มี

  • ผลมะตูม ผลอ่อนที่มีสีเขียว ใช้เป็นยาเจริญอาหาร ขับลมในท้อง ผลแก่แก้เสมหะ ช่วยย่อยอาหาร และยังสามารถเอาผลสุกมาชงดื่มเป็นยาแก้ร้อนใน หรือ เอามะตูมตากแห้งมาต้มเป็นชาสมุนไพรก็จะได้ผล็อย่างเดียวกัน นอกจากนี้ ผลดิบแห้งยังใช้แก้บิด และแก้ท้องเสียในเด็กได้ด้วย ส่วนผลสุกนั้นกลับเป็นยาระบาย ช่วยย่อยอาหารได้ดีโดยเฉพาะในเด็ก



[ กลับไปด้านบน ]


กระเจี๊ยบ

เป็นพืชล้มลุกในฤดูฝน ปลูกง่าย ไม่ต้องดูแลรักษาก็เจริญเติบโตได้ ปลอดภัยจากสารพิษ ต้นสูงประมาณ 2 เมตร มีผลเป็นฝักยาวประมาณ 3-4 นิ้ว มีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก วิตามินเอ วิตามินซี ไนอะซิน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hibiscus sabdariffa L. อยู่ในวงศ์ของ MALVACEAE ชื่อสามัญว่า Jamaica Sorrel, Red Sorrel, Roselle, Rozelle




สรรพคุณต่างๆ

ระเจี๊ยบมีสรรพคุณแก้อ่อนเพลีย แก้ดีพิการ และปัสสาวะติดขัด แก้คอแห้ง กระหายน้ำ ช่วยลดความดันโลหิตสูง ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย แก้โรคเบาหวาน แก้เส้นเลือดตีบตัน ช่วยขับเสมหะ แก้ไอ และขับเมือกมันในลำไส้

อกจากกระเจี้ยบจะช่วยบรรเทาอาการต่างๆ ได้แล้ว กระเจี๊ยบยังมีสารซึ่งช่วยบำรุงกำลัง บำรุงธาตุ และยังช่วยบำรุงโลหิตอีกด้วย

ประโยชน์อื่นๆ ของกระเจี๊ยบ
ลีบรองดอกของกระเจี๊ยบมีสารสีแดงจำพวก anthocyanin ทำให้มีสีม่วงแดง เช่น สาร cyanidin, delphinidin และมีกรดอินทรีย์หลายชนิด เช่น ascorbic acid, citric acid, malic acid และ tartaric acid กรดเหล่านี้ทำให้กระเจี๊ยบมีรสเปรี้ยว และยังพบมีวิตามินเอ Pectin และแร่ธาตุอื่นๆ ได้แก่ แคลเซียมในปริมาณสูงฟอสฟอรัส แมกนีเซียม เป็นต้น

บและยอดอ่อนมีวิตามินเอ แคลเซียม และฟอสฟอรัสในปริมาณสูง ส่วนที่ใช้ประโยชน์ทางยา ราก ลำต้น ใบ ดอก กลีบเลี้ยง เมล็ด

ราก: แก้พยาธิตัวจี๊ด
ลำต้น: แก้พยาธิตัวจี๊ด
ใบ: รสเปรี้ยว ละลายเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำไส้ ทำให้โลหิตไหลเวียนดี ช่วยย่อยอาหาร หล่อลื่นลำไส้ ขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย บำรุงธาตุ ต้นชะล้างแผล หรือตำพอกฝี แก้พยาธิตัวจี๊ด
ดอก: ลดไขมันในเลือด ลดความดัน ละลายเสมหะ ขับเมือกในลำไส้ให้ลงสู่ทวารหนัก ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้ไอ ทำให้สดชื่น ลดไข้ ขับน้ำดี แก้พยาธิตัวจี๊ด
กลีบเลี้ยง: แก้ความดันโลหิตสูง ลดไขมันในเลือด แก้กระหายน้ำ แก้นิ่ว รักษาแผลในกระเพาะ แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ แก้ปัสสาวะพิการ แก้เส้นเลือดตีบตัน แก้พยาธิตัวจี๊ด
เมล็ด: รสเมา บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ ขับปัสสาวะ แก้ดีพิการ แก้อ่อนเพลีย เป็นยาระบาย ฆ่าพยาธิตัวจี๊ด



[ กลับไปด้านบน ]

ลำไย

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Euporia longana Lamk เป็นไม้ไม่ผลัดใบ จัดเป็นผลไม้ ผลใช้รับประทานได้ และมักจะใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารทางเอเชียตะวันออก ทั้งอาหารคาวและอาหารหวาน ผลมีลักษณะกลม มีเปลือกบางสีน้ำตาลห่อหุ้ม เนื้อในผลมีสีขาวฉ่ำน้ำและอ่อนนุ่ม ส่วนในสุดเป็นเมล็ดขนาดใหญ่สีดำ เนื้อที่เรารับประทานนั้นจริงๆไม่ใช่ผลแต่เป็น Seed coat ชนิดหนึ่งเรียกว่า เยื่อหุ้มเมล็ด (Aril)

ลำไยมีถิ่นกำเนิดอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ทางใต้ของจีนแถบมณฑลกวางตุ้ง ฟุกเกี้ยน และลิงนาน จนถึงอินโดนีเซีย ลำไยเริ่มนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2439 ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 ที่จังหวัดเชียงใหม่




ลลำไยแห้ง มักใช้ในอาหารและยาสมุนไพรของจีน เพราะเชื่อว่ามีคุณสมบัติช่วยบำรุงกำลัง ลำไยแห้ง ถือเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าอย่างน่ามหัศจรรย์ ไม่เพียงแต่อุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการ จากสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นวิตามิน เกลือแร่ กรดหลายชนิดที่ร่างกายต้องการ เช่น กรดกลูโคนิค กรดมาลิก กรดซิตริก ฯลฯ แล้ว ยังมีกรดอะมิโน อีก 9 ชนิด ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย พร้อมทั้งแร่ธาตุอีกหลายชนิด ที่ดีและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ทองแดง สังกะสี แมงกานีส เป็นต้น

อกจากนี้ ลำไยยังมีคุณค่าทางการแพทย์และเภสัชอีกด้วย ถึงแม้ว่าหลายคนจะมีความเชื่อกันว่าหากรับประทานลำไยมากจะทำให้อ้วน แต่ความเป็นจริง รสหวานจากน้ำตาลผลไม้นั้น จะย่อยง่ายและมีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่งคือน้ำตาล 3 ชนิด กลูโคส ฟรุกโตส และซูโครสที่ร่างกายต้องการ





สรรพคุณของลำไย

างการแพทย์แผนโบราณของจีนนั้น เชื่อว่า ลำไยซึ่งมีสรรพคุณใช้บำรุงเลือด ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการไหลเวียนของโลหิต และบำรุงร่างกาย

ลำไย สามารถป้องกันเชื้อโรคบางชนิดได้ และเป็นยาบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงกำลัง ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และช่วยบำรุงกำลังของสตรี ภายหลังจากการคลอดบุตร

อกจากนั้น สำไยยังช่วยบำรุงประสาท ในคนที่เป็นโรคประสาทอ่อนๆ หรือคนที่นอนไม่หลับ หรือใจสั่น จะช่วยให้หลับสบาย ช่วยระงับประสาทที่อ่อนเพลียจากการตรากตรำทำงานหนัก ช่วยลดความเครียดและแก้อาการเครียด กระวนกระวาย ขี้ลืม ลืมง่าย ช่วยให้ความจำดี และยังบำรุงประสาทตา บำรุงผิวพรรณ รับประทานขนาด 10-15 กรัม ช่วยบำรุงม้าม บำรุงหัวใจ และช่วยย่อยอาหาร เป็นต้น

าวจีนโบราณนิยมกินลำไยแห้ง หรือต้มดื่มน้ำลำไยอุ่นๆ บ้างก็เอามาปรุงเป็นอาหาร หั่นฝอยผัดกับข้าวก็ได้ หรือจะเอามาต้มน้ำแกง ก็มีประโยชน์ต่อผิวพรรณและสุขภาพเช่นกัน

นประเทศไทย ผลการวิจัยลำไยแห้งจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย รศ.ดร.อุษณีย์ วินิจเขตคำนวณ ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ พบว่าในลำไยแห้ง มีฤทธิ์ยับยั้งสารก่อมะเร็ง ช่วยลดอนุมูลอิสระในเม็ดเลือดขาว และในอนาคต อาจนำมาใช้ร่วมกับการรักษามะเร็ง เพราะให้ผลข้างเคียงน้อยลงหรือไม่มีเลย ทำให้ลดขนาดการใช้ยาหรือเคมีบำบัดลงที่มีผลข้างเคียงมากกว่า

พทย์ยังยืนยันสรรพคุณประโยชน์ของลำไยว่ามีสารออกฤทธิ์เหนี่ยวนำเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ และเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวให้ตาย สารที่ยับยั้งความเป็นพิษของสารก่อมะเร็งทางเดินอาหาร สารที่ออกฤทธิ์ลดการเสื่อมสลายของข้อเข่า ผลการวิจัยล่าสุดได้พบว่าลำไยแห้งสามารถออกฤทธิ์ทำลายและต่อต้านอนุมูลอิสระได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยับยั้งกระบวนการสร้างเม็ดสีผิวเมลานิน ได้ดีกว่าสารเคมีที่ใช้ในเครื่องสำอางปัจจุบัน



[ กลับไปด้านบน ]




ส้ม


เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้น ขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล Citrus วงศ์ Rutaceae มีด้วยกันนับร้อยชนิด เติบโตกระจายอยู่ทั่วโลก โดยมากจะมีน้ำมันหอมระเหยในใบ ดอก และผล และมีกลิ่นฉุน หากนำใบขึ้นส่องกับแสงแดด จะเห็นจุดเล็กๆ เต็มไปหมด ซึ่งจุดเหล่านั้นก็คือแหล่งน้ำมันนั่นเอง

ส้มหลายชนิดรับประทานได้ ผลมีรสเปรี้ยวหรือหวาน มักจะมีแคลเซียม โพแทสเซียม วิตตามินเอ และวิตตามินซี มากเป็นพิเศษ




สายพันธุ์ส้มที่นิยมปลูกในประเทศไทย
ส้มเกลี้ยง (Sweet Orange: C. sinensis) เป็นไม้ผลขนาดกลาง ต้นสูงประมาณ 5-7 เมตร ทรงพุ่มค่อนข้างทึบ กิ่งก้านแข็งแรง มีหนามขนาดใหญ่ หลังจากปลูกแล้ว 3 ปี จะเริ่มให้ผลผลิตตั้งแต่เริ่มออกดอกจนถึงดอกบาน ใช้เวลาประมาณ 20 วัน นับจากดอกบานจนถึงผลแก่ใช้เวลาประมาณ 7.5-8 เดือน

ส้มเขียวหวาน (Tangerine: C. reticulata) เป็นไม้ผลขนาดเล็ก ต้นสูงประมาณ 2.5-3 เมตร ทรงพุ่มมีลักษณะแน่นทึบ เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 3 ปี และให้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 15 ปี ถ้ามีการดูแลรักษาอย่างดี ตั้งแต่เริ่มออกดอกจนถึงดอกบาน ใช้เวลาประมาณ 20-25 วัน นับจากดอกบานจนถึงผลแก่ใช่เวลาประมาณ 8 เดือน ต้นส้มเขียวหวานที่มีอายุ 10 ปี ให้ผลผลิตประมาณ 150-180 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี น้ำหนักเฉลี่ยของผลประมาณ 8 ผลต่อ 1 กิโลกรัม

ส้มจุก (Neck Orange: C. nobilis) เป็นไม้ผลขนาดกลาง เริ่มให้ผลผลิตหลังปลูกประมาณ 3 ปี และให้ผลต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 20 ปี ตั้งแต่ออกดอกจนถึงดอกบานใช้เวลาประมาณ 20 วัน นับจากดอกบานจนถึงผลแก่ใช้เวลาประมาณ 8 เดือน ต้นส้มจุกที่มีอายุ 5 ปี จะให้ผลผลิตที่มีน้ำหนักเฉลี่ยของผลประมาณ 5-6 ผลต่อ 1 กิโลกรัม

ส้มตรา (ส้มเช้ง)


ส้มตรา (ส้มเช้ง) (Acidless Orange: C. sinensis) เป็นไม้ผลทรงพุ่มขนาดเล็ก ต้นสูงประมาณ 2.5-3 เมตร เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 3 ปี และให้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 10 ปี ตั้งแต่เริ่มออกดอกจนถึงดอกบานใช้เวลาประมาณ 1 เดือน นับจากดอกบานจนถึงผลแก่ใช้เวลาประมาณ 8-9 เดือน ต้นส้มตราที่มีอายุ 5 ปี ให้ผลผลิตประมาณ 50 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี น้ำหนักเฉลี่ยของผลประมาณ 6-8 ผลต่อ 1 กิโลกรัม

ส้มโอ (Pummelo: C. grandis หรือ C. maxima) เป็นไม้ผลทรงพุ่มขนาดกลาง ต้นสูงประมาณ 3-7 เมตร เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 4 ปี และให้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 15-20 ปี นับจากดอกบานจนถึงผลแก่ใช้เวลาประมาณ 8 เดือน ต้นส้มที่มีอายุ 8 ปี จะให้ผลผลิตประมาณ 80-100 ผลต่อต้นต่อปี

คุณประโยชน์ของส้ม
ากรายงานการศึกษาของหลายชาติ เรื่องการบริโภคส้มให้ประโยชน์แก่สุขภาพ สรุปได้ว่า "กินส้มวันละใบ จะช่วยผลักไสโรคมะเร็งบางชนิดให้พ้นตัวไปได้"

นักวิจัยขององค์การวิจัยวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมเครือจักรภพของรัฐบาลออสเตรเลีย ระบุว่า การกินส้ม จะช่วยป้องกันมะเร็งที่ปาก กล่องเสียง และกระเพาะลงได้ครึ่งหนึ่ง และยิ่งกินผักผลไม้วันละ 5 มื้ออยู่เป็นประจำแล้ว ก็จะยิ่งช่วยให้ป้องกันอัมพาตได้อีกโรคถึง 19 เปอร์เซ็นต์ด้วย

ส้ม ยังช่วยป้องกันโรคของร่างกายได้ เพราะคุณสมบัติเป็นตัวล้างพิษ พร้อมทั้งบำรุงระบบภูมิคุ้มโรคให้แข็งแรง ขัดขวางเนื้อร้ายไม่ให้ลุกลาม และรักษาเซลล์เนื้อร้ายให้กลับคืนดีได้อีกด้วย



[ กลับไปด้านบน ]



เฉาก๊วย


เป็นอาหารหวานชนิดหนึ่ง ซึ่งแพร่หลายในประเทศจีนจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะที่เป็นทั้ง อาหารหวาน และ เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ สำหรับในประเทศไทยนั้น ถือว่าเป็นอาหารหวานระดับพื้นบ้าน เนื่องจากมีการจำหน่ายทั่วไปในชุมชนเมืองทั่วประเทศ

ฉาก๊วยเป็นผลผลิตต่อเนื่อง จากการแปรรูปต้นเฉาก๊วย ซึ่งเป็นพืชในวงศ์ Lamiaceae (วงศ์มิ้นท์) วงศ์เดียวกับ สะระแหน่ กะเพรา โหระพา แมงลัก และ ยี่หร่า มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “Mesona chinensis” ส่วนคนไทยเราจะเรียกหญ้าชนิดนี้ว่า “หญ้าเฉาก๊วย”

ญ้าเฉาก๊วยสามารถพบได้มากในประเทศจีน ดังนั้น จึงไม่แปลกที่ขนมหวานชนิดนี้จะมีที่มาจากเมืองจีน และมีชื่อเรียกเป็นภาษาจีน ทว่าในหมู่ของคนจีนเองก็จะเรียกเจ้าขนมหวานชนิดนี้แตกต่างกันออกไปตามภาษาถิ่น เช่น ในภาษาจีนกลางจะเรียกว่า “เหลียงเฝิ่น”หรือ “เซียนเฉ่า”ที่แปลว่าหญ้าเทวดา ขณะที่ชาวมาเลย์จะเรียกว่า “จินเจา”เป็นต้น



เฉาก๊วย

สรรพคุณต่างๆ
ช่นเดียวกับพืชอื่นๆ ในวงศ์มิ้นท์ เฉาก๊วยมีสรรพคุณแก้ร้อนใน กระหายน้ำ แต่เนื่องจากมีระดับของน้ำมันหอมระเหย และสารออกฤทธิ์ในระดับที่ต่ำกว่าตระกูลกระเพราเป็นอย่างมาก จึงส่งผลให้เฉาก๊วยไม่มีฤทธิ์ขับลม หรือบรรเทาปวด เหมือนดังที่มีในพืชตระกูลกระเพรา โหระพา



[ กลับไปด้านบน ]





เก๊กฮวย

ทำมาจากดอกเก็กฮวย เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศจีน อยู่ในตระกูลเดียวกับเบญจมาศ บางคนก็เรียกว่าเบญจมาศสวนหรือเบญจมาศหนู น้ำเก็กฮวย เป็นน้ำสมุนไพรที่หลายๆ คนชื่นชอบ


เก๊กฮวย

ประโยชน์ของเก๊กฮวย
อกจากจะหอมสดชื่นแล้ว เก๊กฮวยยังมีสรรพคุณที่สำคัญอีกมากมาย เช่น


  • เป็นยาเย็น ดับพิษร้อน แก้ร้อนใน

  • เป็นยาแก้ปวดท้องและช่วยระบาย

  • ช่วยขยายหลอดเลือดแดงใหญ่ที่เลี้ยงหัวใจ จึงช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดต่างๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเส้นเลือดตีบ และโรคหัวใจได้

  • สำหรับคนที่เป็นมะเร็งและเข้ารับการรักษาด้วยการฉายแสงหรือเคมีบำบัด ตับก็จะต้องทำงานหนักมากในการขจัดสารพิษออกไป เมื่อตับทำงานหนักก็จะทำให้ร่างกายเกิดอาการร้อน ดูได้จากการที่คอแห้ง ปากแห้ง ตาแห้ง ท้องผูก ปวดเมื่อยร่างกาย ฯลฯ


การดื่มน้ำเก๊กฮวยก็จะสามารถลดความร้อนของร่างกายได้เนื่องจากเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็น จะช่วยขับพิษร้อนจากตับออกมาได้



[ กลับไปด้านบน ]

Back to Article
 
Hot Line 087-516-0330
  • Olives
  • Feliz
  • Akbar
  • Schaerer
  • Crathco
  • Nuova
  • Rancilio
  • WestBend
  • Waring
  • Vitamix
  • Cofrimell
บริการจัดเลี้ยงนอกสถานที่ | แคเทอริ่ง | คอฟฟี่เบรค | น้ำชายามบ่าย | ค๊อกเทล | ออกร้าน | ปาร์ตี้ | เครื่องดื่ม | อาหารว่างในกล่อง (เซ๊ทอาหารว่าง)
Outside Catering Service   Catering   Coffee Break   High Tea   Cocktails   Grand Opening/Exhibition   Party   Beverage   Snack Box
COPYRIGHT © 2009 The Refresher Co., Ltd.