English
Thai
Home Product Service Order Article News Rewards
Home Product Service Order Article News Rewards
About The Refresher Thai Join Us Contact Us

ประวัติชา


ารดื่มชานั้นได้เริ่มขึ้นในประเทศจีน คาดว่าไม่น้อยกว่า 2,167 ปีก่อนคริสตกาล ตำนานการเริ่มต้นของการดื่มชามีหลายตำนาน บ้างก็กล่าวว่าจักรพรรดิเสินหนิงของจีน (Shen Nung) ค้นพบวิธีชงชาโดยบังเอิญ เมื่อพระองค์ทรงต้มน้ำดื่มใกล้ๆ กับต้นชา ขณะรอคอยให้น้ำเดือด กิ่งชาได้หล่นลงในหม้อชา สักพักหนึ่งกลิ่นหอมกรุ่นก็โชยออกมา เมื่อพระองค์เอากิ่งชาออกแล้วทรงดื่ม ก็พบว่า มันทำให้สดชื่น การดื่มชาจึงแพร่หลายมากขึ้นในเวลาต่อมา นอกจากทรงค้นพบสรรพคุณของชาแล้ว พระองค์ยังทรงค้นคว้าและทดสอบสมุนไพรชนิดต่างๆ กว่า 200 ชนิด ชาวจีนจึงได้นับถือว่าพระองค์เป็นบิดาแห่งแพทยศาสตร์
tea

อีกตำนานหนึ่งกล่าวว่า นักบวชชื่อธรรม ซึ่งเป็นโอรสของกษัตริย์อินเดีย ได้เดินทางจาริกบุญเพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนาในจีน ในช่วงแผ่นดินของจักรพรรดิถูตี่ ในช่วงปี ค.ศ. 519 จักรพรรดิถูตี่ทรงนิยมชมชอบนักบวชจึงได้นิมนต์ให้นักบวชไปพักอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่งในเมืองหนานกิง ขณะที่นักบวชได้สวดมนต์ภาวนาอยู่ก็เผลอหลับไป ทำให้ชาวจีนหัวเราะเยาะ เพื่อเป็นการลงโทษตัวเองมิให้กระทำความผิดเช่นนั้นอีก ท่านธรรมจึงได้ตัดหนังตาของตนทิ้งเสีย หนังตาเมื่อตกถึงพื้นก็เกิดงอกขึ้นเป็นต้นชาซึ่งเป็นนิมิตที่แปลก ชาวจีนจึงพากันเก็บชามาชงในน้ำดื่มเพื่อรักษาโรค

อกจากนี้ยังมีตำนานเล่าขานกันอีกว่า ในสมัยหนึ่งได้เกิดโรคอหิวาตกโรคระบาดในเมืองจีนผู้คนล้มตายกันเป็นจำนวนมาก เกี้ยอุยซินแสพบว่า สาเหตุใหญ่ของการเกิดโรคเกิดจากการที่ผู้คนพากันดื่มน้ำสกปรก จึงแนะนำให้ชาวบ้านต้มน้ำดื่ม และเพื่อให้ชาวบ้านเชื่อ จึงเสาะหาใบไม้มาอังไฟให้หอมเพื่อใส่ลงไปในน้ำต้ม เกี้ยอุยซินแสพบว่า มีพืชชนิดหนึ่งที่ให้กลิ่นหอมมากเป็นพิเศษ มีรสฝาดเล็กน้อยและแก้อาการท้องร่วงได้ จึงเผยแพร่วิธีการนี้ให้ชาวบ้านได้ทำตาม ซึ่งพืชที่มีกลิ่นหอมก็คือต้นชานั่นเอง

ลักฐานสำคัญที่เป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับเรื่องชาที่สืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้คือ "วรรณกรรมชาคลาสสิกฉาชิง (Cha Ching) เป็นตำราที่เกี่ยวกับชาเล่มแรกของโลก บรรยายถึงแหล่งกำเนิดของชา การปลูกชา การผลิตชา คุณภาพของชา วิธีการดื่มชา อุปกรณ์การชงชาและธรรมเนียมการชงชา นานนับศตวรรษที่หนังสือเล่มนี้กลายเป็นพื้นฐานการศึกษาของจีน



ชาในประเทศต่างๆ
ากประเทศจีน ชาได้ถูกเผยแพร่นำไปปลูกในประเทศต่างๆ ในเอเชีย เช่น ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่อยู่ใกล้กับจีน โดยเริ่มรู้จักและมีการนำชาเข้าญี่ปุ่นโดยพระชาวญี่ปุ่นจำนวนหนึ่งที่เดินทางมาประเทศจีนกับเรือคณะทูต เพื่อมาศึกษาคำสอนทางพระพุทธศาสนา และได้นำเมล็ดชากลับไปปลูกที่ Shingakn ซึ่งก็ประสบผลสำเร็จได้ผลดี หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1191 การปลูกชาได้กระจายทั่วไปและพระชาวญี่ปุ่นชื่อไอไซ (Eisai) ได้ไปเยือนจีนในปี ค.ศ. 1192 และ 1196 ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับ การรักษาสุขภาพโดยการดื่มชา (Preseving Health in Drinking Tea) เป็นหนังสือเล่มแรกเกี่ยวกับชาในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งต่อมาได้พัฒนาขึ้นเป็นประเพณีการชงชาของญี่ปุ่นมาจนถึงปัจจุบันนี้

 

นประเทศอินเดีย ช่วงศตวรรษที่ 18-19 บริษัท West India ได้นำเมล็ดชาจีนมาทดลองปลูกตามไหล่เขาหิมาลัย ส่วนการขยายตัวของอุตสาหกรรมชาเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1818-1834 บริเวณตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อมามีการพบชาป่าแถบเนปาลและมานิเปอร์ เป็นเหตุให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการดูแลและมีการปลูกชาขึ้นที่กัลกัตตาในปี ค.ศ. 1834 และได้มีการค้นคว้าทดลองเกี่ยวกับชา ในสวนพฤกษศาสตร์แห่งกัลกัตตา โดยได้รับความช่วยเหลือด้านเมล็ดพันธุ์จากประเทศจีน ต่อมาจีนงดส่งพันธุ์ชามาให้อินเดีย เนื่องจาก กลัวว่าอินเดียจะผลิตชามาแข่งขัน อินเดียจึงต้องดำเนินการพัฒนาสายพันธุ์ชาขึ้นมาเอง โดยใช้พันธุ์ชาที่ปลูกอยู่แล้ว และพันธุ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติที่อยู่ใกล้ชายแดนเนปาล จนถึงพรมแดนประเทศจีนแถบมณฑลยูนนาน



tea
 
tea



ต้นกำเนิดของชาซีลอน ประเทศศรีลังกา (Ceylon Island)

   หลังจากศรีลังกาตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ชนชั้นปกครองชาวอังกฤษก็ครุ่นคิดหาวิธีที่จะทำให้ศรีลังกาและอินเดียมีอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ เพื่อจะรับภาระค่าใช้จ่ายทางทหาร ณ พื้นที่นั้นๆ และเพื่อส่งผลประโยชน์กลับไปให้เจ้าอาณานิคม ต้นศตวรรษที่ 19 (1824) Edwards Barnes ผู้ว่าคนที่ 5 แห่งอาณานิคมศรีลังกา สังเกตุเห็นต้นกาแฟเติบโตได้เองตามธรรมชาติ จึงริเริ่มพัฒนาการปลูกกาแฟแบบอุตสาหกรรมอย่างจริงจังทั้งการจัดรูปที่ดิน การวิจัยและพัฒนาพันธุ์กาแฟ การสร้างสาธารณูปโภค รวมถึงการคมนาคม ถนน ทางรถไฟ ท่าเรือ เพื่อขนส่งผลผลิต มีระบบเอเยนต์ ตัวกลางซื้อขาย การจูงใจและสนับสนุนจากภาครัฐ เมื่อ Barnes หมดวาระผู้ว่าการในปี 1831 กาแฟก็กลายเป็นพืชเศรษฐกิจของศรีลังกา ยิ่งไปกว่านั้น การเลิกทาสในจาไมก้า ณ ปี 1838 ยิ่งส่งเสริมความสำคัญของกาแฟจากศรีลังกาให้แก่อังกฤษมากขึ้น ในปี 1870s เกาะซีลอน (อีกชื่อเรียกของประเทศศรีลังกา) ก็กลายเป็นแหล่งเพาะปลูกกาแฟอันดับหนึ่งของโลกอย่างเต็มภาคภูมิ

   ชาวศรีลังกาดีใจอยู่ได้ไม่นาน หลังจากนั้นราวๆหนึ่งทศวรรษ โรคระบาด (coffee rust) ได้ทำลายต้นกาแฟบนเกาะซีลอนลงจนหมดสิ้น ท่ามกลางภาวะโกลาหล สับสน เศรษฐกิจล่มสลาย James Taylor ชาวสกอตช์ ผู้ซึ่งริเริ่มปลูกพืชใหม่ในที่ดินบางส่วนของเขาเงียบๆตั้งแต่ปี 1867 และฉายความสำเร็จโดยส่งออกชาซีลอนล็อตแรก 23 ปอนด์ไปยังอังกฤษในปี 1873 ข่าวดีนี้เรียกความสนใจจากชาวไร่ชาวสวนทั้งหมด มาเยี่ยมและเรียนรู้การปลูกชาจากไร่ของ Taylor แล้วพร้อมใจกันโค่นต้นกาแฟทิ้งทั้งเกาะ ใช้เวลาสิบปีเพื่อเปลี่ยนพืชเศรศฐกิจของเกาะซีลอนเป็น Ceylon Tea


   เมื่อศรีลังกาได้รับเอกราชในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 1948 แม้จะผ่านการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างยากลำบากในช่วง 10-20 ปีแรก ชาวศรีลังกาก็ยังรักษาชาซีลอนเป็นพืชเศรษฐกิจ มีพัฒนาการมากมายจนกลายเป็นผู้ส่งออกชาอันดับหนึ่งของโลกตั้งแต่ปี 1962 และรักษาสถานะผู้ส่งออกสำคัญของโลก ทั้งคุณภาพและปริมาณมาจวบจนปัจจุบัน



นทวีปยุโรป อังกฤษเป็นประเทศแรกที่รู้จักนำใบชามาใช้ประโยชน์โดยการนำใบชามาจากประเทศจีนในปี ค.ศ. 1657 และในช่วงปี ค.ศ 1657-1833 บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษได้เป็นผู้ผูกขาดการนำเข้าชา และชาวอังกฤษก็ยอมรับการบริโภคชาได้เร็วกว่าชาติอื่นๆ โดยมีเซอร์โทมัส การ์ราเวย์ เป็นผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมชาของอังกฤษ ต่อมานายทอมมี่ ลิปตัน และนายคาเนียล ทไวนิ่ง ได้จัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตชายี่ห้อลิปตันหรือทไวนิ่งที่มีชื่อเสียงจนถึงปัจจุบันนี้

นประเทศฝรั่งเศส ชาถูกยอมรับเป็นเครื่องดื่มในศตวรรษที่ 17 สมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงเสวยชาเพื่อช่วยให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น และแรงเสริมอีกอย่างคืออุตสาหกรรมชาในอังกฤษเข้ามาตีตลาดในฝรั่งเศส

นประเทศรัสเซีย เริ่มปลูกชาครั้งแรกที่ Sukhum Botanic Gardens บนฝั่งทะเลดำ ในปี ค.ศ. 1847 โดยอุปราชของเมืองคอเคซัส เมื่อต้นชาเริ่มให้ผลผลิต ทำให้ความนิยมปลูกชาเพิ่มมากขึ้น ปี ค.ศ.1884 มีการนำต้นกล้าชาจากประเทศจีนมาปลูกในเนื้อที่ประมาณ 5.5 เอเคอร์ หลังจากนั้นได้มีกลุ่มผู้สนับสนุนการปลูกชาขึ้น โดยจัดซื้อสวนบนฝั่งทะเลดำจำนวน 3 สวน เพื่อปลูกชาจำนวน 385 เอเคอร์ ใช้เมล็ดพันธุ์จากประเทศจีน อินเดีย และศรีลังกา รวมทั้งจ้างคนชำนาญเรื่องชากับคนงานจากประเทศจีนมาฝึกสอน โดยจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการทำชามาจากประเทศอังกฤษ ต่อมาในปี ค.ศ 1900 กระทรวงเกษตรของรัฐเริ่มจัดตั้งสถานีทดลองและผลิตต้นพันธุ์แจกจ่ายโดยไม่คิดมูลค่า จากการส่งเสริมนี้ทำให้การปลูกชาขยายตัวมากขึ้น จนในปัจจุบันประเทศรัสเซีย จัดได้ว่ามีการปลูกชากันมากในรัฐจอร์เจีย (Georgia) ชายฝั่งทะเลดำ



ประวัติการปลูกชาในประเทศไทย
นสมัยสุโขทัยช่วงที่มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับจีน พบว่าได้มีการดื่มชากัน แต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่านำเข้ามาอย่างไร และเมื่อใด แต่จากจดหมายของท่านลาลูแบร์ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้กล่าวไว้ว่า คนไทยได้รู้จักการดื่มน้ำชาแล้ว โดยนิยมชงชาเพื่อรับแขก การดื่มชาของคนไทยสมัยนั้นดื่มแบบชาจีนไม่ใส่น้ำตาล

สำหรับการปลูกชาในประเทศไทยนั้น แหล่งกำเนิดเดิมจะอยู่ตามภูเขาทางภาคเหนือของประเทศ โดยจะกระจายอยู่ในหลายจังหวัดแถบภาคเหนือ ที่สำคัญได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน ลำปางและตาก จากการสำรวจของคณะทำงานโครงการหลวงวิจัยชาได้พบแหล่งชาป่าที่บ้านไม้ฮุง กิ่งอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน บริเวณเขตติดต่อชายแดนประเทศพม่า ต้นชาป่าที่พบเป็นชาอัสสัม (Assam tea) อายุหลายร้อยปี เส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นประมาณ 0.5 เมตร ชาวบ้านละแวกนั้นเรียกต้นชาพันปี

ข้าใจว่าต้นชาขนาดใหญ่สามารถพบได้อีกตามบริเวณเทือกเขาสูงของจังหวัดแพร่และน่าน โดยสวนชาส่วนใหญ่ทางภาคเหนือ จะเป็นสวนเก่าที่ได้จากการถางต้นไม้ชนิดอื่นออก เหลือไว้แต่ต้นชาป่าที่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า ต้นเมี่ยง จำนวนต้น/ไร่ต่ำ ประมาณ 50-200 ต้น/ไร่ ผลผลิตใบชาสดต่ำเพียง 100-140 กิโลกรัม/ไร่ ชาวบ้านจะเก็บใบชาป่าด้วยมือโดยการรูดใบทั้งกิ่ง แล้วนำใบมาผลิตเป็นเมี่ยง ในปัจจุบันช่วงใดที่เมี่ยงมีราคาสูง ใบชาป่าจะถูกนำมาผลิตเป็นเมี่ยง แต่เมื่อเมี่ยงมีราคาถูก ใบชาป่าจะถูกไปจำหน่ายให้กับโรงงานผลิตชาจีนขนาดเล็ก ทำให้ชาจีนที่ผลิตได้มีคุณภาพต่ำ

ารพัฒนาอุตสาหกรรมชาของประเทศไทย เริ่มขึ้นอย่างจริงจังในปี พ.ศ. 2480 โดย นายประสิทธิ์ และนายประธาน พุ่มชูศรี สองพี่น้องได้ตั้งบริษัท ใบชาตราภูเขา จำกัด และสร้างโรงงานชาขนาดเล็กขึ้นที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยรับซื้อใบชาสดจากชาวบ้านที่ทำเมี่ยงอยู่แล้ว แต่ปรากฏว่าพบปัญหาอุปสรรคหลายประการ เช่น ใบชาสดมีคุณภาพต่ำ ปริมาณไม่เพียงพอ ชาวบ้านขาดความรู้ความชำนาญในการเก็บเกี่ยวยอดชาและการตัดแต่งกิ่งชา ส่วนที่อำเภอฝางนั้น นายพร เกี่ยวการค้า ได้นำผู้เชี่ยวชาญทางด้านชาชาวฮกเกี้ยนมาจากประเทศจีน เพื่อมาถ่ายทอดความรู้ให้กับคนไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2482 สองพี่น้องตระกูลพุ่มชูศรี ได้แก้ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ โดยเริ่มปลูกสวนชาเป็นของตนเอง ใช้เมล็ดพันธุ์ชาพื้นเมืองมาเพาะ สวนชาตั้งอยู่ที่แก่งพันท้าว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ในเนื้อที่ประมาณ 100 ไร่และต่อมาได้ขยายพื้นที่ปลูกมาที่บ้านเหมืองกืด และบ้านช้าง ตำบลสันมหาพน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2508 ได้ส่งเสริมการผลิตมากขึ้น โดยขอสัมปทานทำสวนชา จากกรมป่าไม้จำนวน 2,000 ไร่ ที่บ้านบางห้วยตาก ตำบลอินทขิน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ในนามของ บริษัทชาระมิงค์ และทำสวนชาที่ตำบลสันมหาพน อำเภอแม่แตง ในนามของ บริษัทชาบุญประธาน ชาที่ผลิตได้ส่วนใหญ่จะเป็นชาฝรั่ง ต่อมาเอกชนเริ่มให้ความสนใจอุตสาหกรรมการผลิตชามากขึ้นโดยในปี พ.ศ. 2530 บริษัทชาระมิงค์ได้ขยายสัมปทานสวนชา ให้แก่บริษัทชาสยาม จากนั้นชาสยามได้เริ่มส่งเสริมให้เกษตรกรที่ปลูกไร่ในบริเวณใกล้เคียงปลูกสวนชาแบบใหม่ และรับซื้อใบชาสด จากเกษตรกรนำมาผลิตชาฝรั่งนามชาลิปตัน จนกระทั่งปัจจุบันนี้

สำหรับภาครัฐนั้น การส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2483 โดยปลัดกระทรวงเกษตร (ม.ล.เพช สนิทวงศ์) อธิบดีกรมเกษตร (คุณพระช่วงเกษตรศิลปาการ) และหัวหน้ากองพืชสวน (ม.จ.ลักษณากร เกษมสันต์) ได้เดินทางไปสำรวจหาแหล่งที่จะทำการปลูกและปรับปรุงชาที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ในที่สุดได้เลือกบริเวณโป่งน้ำร้อน เป็นที่ทดลองปลูกชา โดยตั้งเป็น สถานีทดลองพืชสวนฝางมีนายพ่วง สุวรรณธาดา เป็นหัวหน้าสถานี ระยะแรกเมล็ดพันธุ์ชาที่นำมาปลูก ได้ทำการเก็บมาจากท้องที่ตำบลม่อนบินและดอยขุนสวยที่มีต้นชาป่าขึ้นอยู่ ต่อมามีการนำชาพันธุ์ดีมาจากประเทศอินเดีย ไต้หวัน และญี่ปุ่นมาทดลองปลูก เพื่อทำการค้นคว้าและวิจัยต่อไป ในส่วนของกรมเกษตรที่สูงหลายแห่ง เช่น สถานีทดลองพืชสวนดอยมูเซอ จังหวัดตาก สถานีทดลองเกษตรที่สูงวาวี จังหวัดเชียงราย และสถานีทดลองเกษตรที่สูงแม่จอนหลวง จังหวัดเชียงใหม่

นปี พ. ศ. 2518 ฝ่ายรักษาความมั่นคงแห่งชาติได้เริ่มโครงการปลูกชาในพื้นที่หมู่บ้านอพยพ 6 หมู่บ้าน คือ บ้านหนองอุ แกน้อย แม่แอบ ถ้ำงอน ถ้ำเปรียงหลวง และแม่สลอง โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไต้หวัน จัดส่งเมล็ดพันธุ์ชาลูกผสม มาให้ทดลองปลูกพร้อมทั้งส่งผู้เชี่ยวชาญมาถ่ายทอดเทคนิคการปลูกและการผลิตให้ด้วย ต่อมาอีก 3 ปี มีการสร้างแปลงสาธิตการ ปลูกชาขึ้นที่บ้านแม่สลอง หนองอุและแกน้อย ในปี พ.ศ. 2525 จึงได้มีการจัดตั้งสหกรณ์ใบชาแม่สลอง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ทำให้สมาชิกที่ปลูกใบชาได้รับความช่วยเหลือในด้านการเงินและการแนะนำด้านต่างๆ

นปี พ.ศ. 2525 กองบริการอุตสาหกรรมภาคเหนือ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมร่วมกับศูนย์เพิ่มผลผลิตแห่งเอเชีย ได้จัดทุนดูงานด้านอุตสาหกรรมชาแก่ผู้ประกอบกิจการชาจำนวน 12 คน ณ ประเทศไต้หวัน และศรีลังกา เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ต่อมาในเดือนตุลาคม พ. ศ.2526 ศูนย์เพิ่มผลผลิตแห่งเอเชีย ได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญด้านชาจีนจากประเทศไต้หวัน 2 คน คือ นายซูหยิงเลียน และนายจางเหลียนฟู มาให้คำแนะนำด้านการทำสวนชาและเทคนิคการผลิตชาจีน เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ในเดือนมิถุนายน 2527 ศูนย์เพิ่มผลผลิตแห่งเอเชียได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญสวนชาฝรั่งจากประเทศศรีลังกา คือ นายเจซี รามานา เคน มาให้คำแนะนำและสาธิตเทคนิคการผลิตชา เป็นเวลา 3 สัปดาห์

ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 กรมวิชาการเกษตรได้ขอผู้เชี่ยวชาญจาก F.A.O. มาสำรวจและศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตอุตสาหกรรมชา ซึ่งทาง F.A.O. ได้ส่ง Dr. A.K.Aich ผู้เชี่ยวชาญชาฝรั่ง จากประเทศอินเดีย เข้ามาศึกษาเป็นเวลา 1 เดือน และมีการส่งนักวิชาการของกรมวิชาการเกษตรไปดูงานด้านการปลูก และการผลิตชาฝรั่งที่ประเทศอินเดีย

Back to Article
 
Hot Line 087-516-0330
  • Olives
  • Feliz
  • Akbar
  • Schaerer
  • Crathco
  • Nuova
  • Rancilio
  • WestBend
  • Waring
  • Vitamix
  • Cofrimell
บริการจัดเลี้ยงนอกสถานที่ | แคเทอริ่ง | คอฟฟี่เบรค | น้ำชายามบ่าย | ค๊อกเทล | ออกร้าน | ปาร์ตี้ | เครื่องดื่ม | อาหารว่างในกล่อง (เซ๊ทอาหารว่าง)
Outside Catering Service   Catering   Coffee Break   High Tea   Cocktails   Grand Opening/Exhibition   Party   Beverage   Snack Box
COPYRIGHT © 2009 The Refresher Co., Ltd.