English
Thai
Home Product Service Order Article News Rewards
Home Product Service Order Article News Rewards
About The Refresher Thai Join Us Contact Us

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับการดื่มชา

ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 การดื่มชาแพร่หลายไปสู่ประเทศทางตะวันตกและประเทศต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งแต่ละประเทศมีประเพณีและวัฒนธรรมการดื่มชาแตกต่างกัน

tea ประเพณีการดื่มชา
  ชาเขียวแม้จะเพิ่งโด่งดังในประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้ก็ตาม แต่วัฒนธรรมการดื่มชามีมานานนับพันปีแล้ว โดยจีนเป็นชนชาติแรกที่รู้จักการดื่มชา ผลิตชา และทำไร่ชามาก่อนชาติอื่นใดมากกว่า 2,000 ปีแล้ว มีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับชาในประเทศต่างๆ ในเวลาต่อมา การดื่มชาของคนในเอเชีย ถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง เพราะการคัดเลือก การผลิต การชิม และวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นจากการดื่มชานั้น ซับซ้อนไม่น้อยไปกว่าการดื่มไวน์ของคนชาติตะวันตกเลย

ในวัฒนธรรมการดื่มชาของคนจีน ชาเป็นสัญลักษณ์ของมิตรไมตรี และการต้อนรับด้วยความยินดี เมื่อมีแขกมาเยือนถึงที่บ้าน ต้องต้อนรับด้วยชาร้อนหนึ่งถ้วย ซึ่งถือเป็นมิตรไมตรีอันอบอุ่นจากเจ้าของบ้านที่จะขาดเสียมิได้ ในอดีตเรามีร้านอาหารและร้านค้ามากมายที่แสดงไมตรีต่อลูกค้าโดยการเสิร์ฟชาให้ดื่ม
tea
 
ปัจจุบันธรรมเนียมปฏิบัติเหล่านี้แทบจะหาดูได้ยาก นอกจากชาวจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ซึ่งดื่มชาต่างน้ำแล้ว ประเทศทางตะวันออกกลางอย่าง ตุรกี อิรัก อียิปต์ ซีเรีย จอร์แดน ฯลฯ ก็ดื่มชากันมากเหมือนกัน
tea ชากับชาวจีน
ธรรมเนียมการดื่มชาของชาวจีน แบ่งออกได้เป็น 3 ยุค สำคัญ ได้แก่:

1) สมัยราชวงศ์ถัง (พ.ศ. 1161-1450)
        การดื่มชาเป็นที่รู้จักกันเฉพาะในภาคใต้ของประเทศจีน ต่อมาในสมัยราชวงศ์ถังนี่เองที่คนจีนนิยมดื่มชากันทั้งภาคเหนือ และภาคใต้ แต่กรรมวิธีชงชาในสมัยราชวงศ์ถังผิดแผกแตกต่างจากชาที่เรารู้จัก สมัยนั้นเขาจะเอาใบชาไปนึ่งกับข้าว เติมเกลือ ขิง เปลือกส้ม และเครื่องเทศ แล้วปั้นเป็นก้อนละลายน้ำร้อนดื่ม

2) สมัยราชวงศ์ซ้อง (พ.ศ. 1503-1823)
        การชงชาได้เปลี่ยนจากก้อนชานึ่ง มาเป็นใบชาแห้งนำมาโม่จนเป็นผง แล้วชงกับน้ำร้อน ในยุคนี้เอง ที่คนจีนเริ่มวัฒนธรรมจิบน้ำชาพรางร่ายกวีอย่างพลิดเพลิน พระสงฆ์ก็หันมาชงชาเพื่อช่วยสร้างศีล สมาธิและปัญญา ญี่ปุ่นได้เรียนวิธีชงชาผงจากจีน และได้พัฒนาเป็นศิลปะการชงน้ำชาของตนเองขึ้น ในขณะเดียวกันที่คนจีนลืมวิธีทำและชงชาผงไปหลังจากที่พวกตาดรุกรานจีน และอารยธรรมจีนของราชวงศ์ซ้องถูกทำลายไปสิ้น

3) สมัยราชวงศ์หยวน (พ.ศ. 1823-1911)
        คนจีนหันมาชงชาด้วยใบชาซึ่งต้องชงในป้าน ป้านชาช่วยกรองเศษชาไม่ให้หล่นลงจองขณะริน ผิดกับชาผงที่ชงดื่มในถ้วยได้ไม่ต้องรินจากป้าน
        ป้านคือเครื่องเครียบชั้นดีมีเนื้อบางเฉียบ เกิดขึ้นเพื่อใช้ดื่มชา ชาเริ่มแพร่หลายออกไปนอกแผ่นดินจีน ทำให้ชาเป็นที่รู้จักกันในหมู่อาหรับ ซึ่งติดต่อการค้ากับจีนมาก่อนชาวยุโรป


tea ชากับชาวญี่ปุ่น
 

ญี่ปุ่นเป็นประเทศหนึ่งที่คนนิยมดื่มชากันอย่างแพร่หลาย แม้ว่าชาวญี่ปุ่นยุคใหม่หันมาสนใจเครื่องดื่มใหม่ๆ อย่างกาแฟ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มอื่นๆ แต่ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ก็ยังคงดื่มน้ำชา ชาที่ชาวญี่ปุ่นนิยมดื่มทั้งในชีวิตประจำวันและที่ใช้ในพิธีชงชา คือชาเขียว
ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ดื่มชา เมื่อมีแขกมาเยี่ยมเยือนถึงเรือนชาน เป็นธรรมเนียมที่เจ้าบ้านจะยกชามาต้อนรับ

เมื่ออยู่ในสถานที่ทำงานชาวญี่ปุ่นมักจะพักดื่มน้ำชาอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง คือช่วงสายและช่วงบ่าย ว่ากันว่า ผู้หญิงในสถานที่ทำงานในประเทศญี่ปุ่น น้อยคนนักที่จะมีหนทางก้าวเทียบเทียมผู้ชาย

tea
 

ในบริษัทพนักงานหญิงส่วนใหญ่จะไม่มีโอกาสได้ทำหน้าที่อื่นเลย นอกจากพิมพ์ดีด ถ่ายเอกสาร และชงน้ำชา งานชงน้ำชาในสถานที่ทำงานไม่ใช่งานเบาๆ เพราะจะต้องคอยเติมไม่ให้แก้วชาของบรรดาพนักงานพร่อง หรือว่างอยู่เป็นเวลานาน โดยไม่ได้รับการเอาใจใส่เติมน้ำชาให้เต็มถ้วย เพราะถือเป็นการเสียมารยาทอย่างยิ่ง

พิธีชงชาเป็นธรรมเนียมที่สะท้อนซึ่งสุนทรียศาสตร์อันเรียบง่ายและงดงาม
ของญี่ปุ่นได้ดีที่สุด และเป็นพิธีชงชามาจากประเทศจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ้อง ขณะที่การชงชาเขียวที่เคยแพร่หลายในสมัยราชวงศ์ซ้องได้สูญสิ้นไปจากแผ่นดินจีน


ประเทศญี่ปุ่นในช่วงคริสต์วรรษที่ 12 การชงชาเป็นส่วนหนึ่งของพิธีสงฆ์นิกายมหายาน พระสงฆ์จะดื่มชาแก่แก้ง่วงระหว่างการนั่งปัสสนากรรมฐานเป็นเวลานานๆ หลังจากนั้น 300 ปี น้ำชาจึงจะย้ายจากวัดเข้ามาในวัง ในคริสตวรรษที่15 การดื่มน้ำชาในพระราชสำนัก กลายเป็นวาระของการสมาคมในหมู่ชนชั้นสูง เพื่อร่วมพบปะสนทนาร่วมเสพความสวยงามจากปลายพู่กันอักษรจีน ชื่นชมในความงามของเครื่องใช้และภาชนะในการชงชา

พิธีชงชามีชื่อเรียกเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า ชาโนยุ แขกที่จะเข้าพิธีจะมาพักที่ห้องรับแขกก่อน จากนั้นเจ้าของบ้านจะเชิญแขกให้เดินเข้าห้องดื่มชา โดยจะเดินผ่านสวนที่จัดแต่งไว้อย่างเรียบง่าย ห้องดื่มชามีขณะเล็กเพียง 9.5 ตารางฟุต ประตูห้องดื่มน้ำชาเป็นช่องเตี้ยๆ ที่แขกจะต้องเดินโดยค่อมศีรษะเล็กน้อย เป็นการคารวะสถานที่และแสดงอาการอ่อนน้อมถ่อมตน อีกทั้งซามูไรซึ่งเป็นนักรบที่คาดดาบติดตัวอยู่ตลอดเวลาก็ต้องถอดดาบวางก่อนเข้าห้องดื่มชา

การตกแต่งห้องดื่มชาเป็นตัวอย่างที่แสดงสุนทรียภาพที่เรียบง่ายและงามสง่าของญี่ปุ่นได้ดีที่สุด ด้วยเป็นห้องขนาดเล็กดูว่างเปล่า เครื่องตกแต่งเพียงอย่างเดียวภายในห้องคือ ดอกไม้ที่จัดไว้แบบญี่ปุ่น หรือภาพห้อยประดับผนัง อุปกรณ์ชาและเครื่องใช้ประกอบด้วย ถ้วยเคลือบ 1 ใบ กาต้มน้ำ ผงชาบรรจุในถ้วยชาและส้อมไม้ไผ่ รูปทรงของเครื่องใช้ในการชงชาได้ถูกจำกัดไว้จนเกิดความโดดเด่นลงตัว เป็นต้นว่าหากใช้ถ้วยรูปทรงกลมแล้ว กาน้ำที่ใช้คู่กันควรเป็นกาสี่เหลี่ยม


tea

พิธีชงชายังแสดงบนแผนของสมบัติผู้ดีตามประเพณีญี่ปุ่นเมื่อแขกผู้ใหญ่เดินนำแขกเข้ามาในห้องดื่มชา แขกผู้ใหญ่ต้องกล่าวชมเชยการตกแต่งห้อง อันได้แก่การจัดดอกไม้ ภาพแขวนผนังหรือเครื่องใช้ในการชงชาที่เจ้าของบ้านยกมา ก่อนการดื่มน้ำชา แขกต้องกินขนมที่เจ้าของบ้านยกมา โดยเริ่มที่แขกผู้ใหญ่จะถือขนมไว้ในมือแล้วบอกแขกคนอื่นว่า "ขอโทษข้าพเจ้าต้องกินก่อน" เมื่อกินขนมเสร็จก็เริ่มดื่มชา โดยวางถ้วยชาไว้ตรงฝ่ามือซ้าย หมุนถ้วยเข้าหาตัว 2 รอบจึงยกขึ้นจิบ แล้วยกดื่มอีกจนได้รสชา เสร็จแล้วก็ใช้ผ้าที่เตรียมไว้ มาเช็ดรอบปากที่ขอบถ้วย กล่าวชมรสชาติชาและส่งถ้วยให้แขกคนอื่นต่อไปดื่มชาที่เหลือในถ้วยนั้นจนครบ

กริยาต่างๆ ระหว่างพิธีการชงน้ำชาที่จัดว่าถูกต้องสมบูรณ์แบบ ต้องเป็นกริยาที่หัดมาแล้วเป็นอย่างดี แขกจะยกถ้วยหรือเช็ดขอบถ้วยด้วยท่วงทีที่สำรวมยิ่ง ถ้อยคำและน้ำเสียงที่แขกกล่าชมเชยเจ้าของบ้านตามมารยาท ก็กล่าวด้วยน้ำเสียงที่เหมาะสม และมีจังหวะจ่าโคน เหมาะกับความเป็นผู้ดีที่สะท้อนให้เห็นในพิธีชงชา

ในบางโอกาส น้ำชาที่ใช้ในพิธีชงน้ำชาอย่างแก่ ซึ่งปริมาณคาเฟอีนผสมอยู่มาก อาการเคลิบเคลิ้มเล็กน้อยจากคาเฟอีน และอาการสำรวมยิ่งระหว่างพิธีชงน้ำชา เป็นส่วนประสมอันแปลกประหลาดของธรรมเนียมอันมีชื่อเสียงของญี่ปุ่น



tea ชากับชาวตะวันตก
ส่วนทางตะวันตกประเทศที่นิยมดื่มชากันมากที่สุด คืออังกฤษและไอซ์แลนด์ ขณะที่ชาวอเมริกันและฝรั่งเศสดื่มชากันน้อยมาก แต่ดื่มกาแฟเป็นหลัก แต่ชาวอังกฤษไม่นิยมดื่มชาเขียว จะนิยมดื่มชาดำซึ่งก็คือใบชาที่ถูกหมัก ซึ่งจะทำให้น้ำชาสีเข้ม และรสชาติที่เข้มข้นกว่า เหมาะกับรสนิยมของชาวอังกฤษ อีกทั้งยังนิยมเติมน้ำตาลและนมเพื่อเพิ่มรสชาติของชา

  ถึงแม้คนอเมริกันจะดื่มชาไม่มากเท่าอังกฤษ เพราะคนอเมริกันนิยมดื่มกาแฟมากกว่าชา แต่ชาก็มีบทบาทในสังคมอเมริกันไม่น้อย และนอกจากนั้นยังกล่าวได้ว่าคนอเมริกันผู้ปฎิวัติรูปแบบการดื่มชา จนเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลกจนปัจจุบันนั้นคือ ชาบรรจุถุง และชาใส่น้ำแข็งหรือชาเย็น อย่างไรก็ตามคนอเมริกันก็นิยมดื่มชาดำเช่นเดียวกับอังกฤษ
สำหรับวัฒนธรรมการดื่มชาในประเทศนั้นเชื่อว่า คนไทยรู้จักการดื่มชามาตั้งแต่คนสมัยสุโขทัย ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของจีน และจากจดหมายของท่านลาลูแบร์ ที่กล่าวว่า ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ปี
tea
 
พ.ศ. 2230) คนไทยได้รู้จักการดื่มชา โดยนิยมชงชาเพื่อรับแขก การดื่มชาของคนไทนในสมัยนั้นดื่มแบบชาจีนไม่ได้ใส่น้ำตาล

tea การดื่มชาแบบต่างๆ
การชงชามีการชงแบบหลายแบบ หลายวิธี มีทั้งแบบจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ยุโรป และอเมริกัน นอกจากการชงแล้วภายชนะในการชงก็ยังมีให้เลือกหลายรูปแบบ ดังนี้

• การชงชาแบบจีน
ในอดีตการชงชาและการดื่มชาของชาวจีนถือได้ว่าเป็นประเพณีและวัฒนธรรมที่สำคัญมาก การดื่มชาของชาวจีนจะไม่มุ่งเน้นไปที่พิธีการหรือนำเอาคำสอนทางศาสนามาเกี่ยวข้องกับการดื่มชา แต่จะให้ความสนใจไปที่ใบชา กลิ่นที่สัมผัสจากการชงและรสชาติที่ได้ดื่ม และความรู้สึกที่เกิดขึ้นหลังจากการดื่มชา

• การชงชาแบบญี่ปุ่น
ผู้ที่จะเข้าใจศิลปะการชงชาแบบญี่ปุ่นต้องเข้าใจปรัชญาในฐานของพิธีชงชาของญี่ปุ่น และปรัชญาพื้นฐานของพิธีชงชาของญี่ปุ่น คือ
1. ความสมดุลระหว่างคนกับธรรมชาติ
2. ความเคารพซึ่งกันและกัน
3. ความบริสุทธิ์ทั้งความคิดและจิตใจ
4. ความสงบทั้งกายและใจ
ในพิธีชงชาญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญกับหลักปรัชญาพื้นฐานทั้ง 4 มากกว่ารสชาติของน้ำชา
Back to Article
 
Hot Line 087-516-0330
  • Olives
  • Feliz
  • Akbar
  • Schaerer
  • Crathco
  • Nuova
  • Rancilio
  • WestBend
  • Waring
  • Vitamix
  • Cofrimell
บริการจัดเลี้ยงนอกสถานที่ | แคเทอริ่ง | คอฟฟี่เบรค | น้ำชายามบ่าย | ค๊อกเทล | ออกร้าน | ปาร์ตี้ | เครื่องดื่ม | อาหารว่างในกล่อง (เซ๊ทอาหารว่าง)
Outside Catering Service   Catering   Coffee Break   High Tea   Cocktails   Grand Opening/Exhibition   Party   Beverage   Snack Box
COPYRIGHT © 2009 The Refresher Co., Ltd.