English
Thai
Home Product Service Order Article News Rewards
Home Product Service Order Article News Rewards
About The Refresher Thai Join Us Contact Us

          กาแฟเป็นพืชพื้นเมืองของอบิสซิเนีย (Abyssinia) และ อะราเบีย (Arabia) ถูกค้นพบราวปี ค.ศ. 575 ในแถบประเทศอะราเบียน หรือประเทศอาหรับตะวันออกกลาง

Coffee

Coffee

          ในขณะเดียวกันบางแหล่งข้อมูลก็กล่าวว่า กาแฟเป็นพืชพื้นเมืองที่พบในเมืองคัพฟา(Kaffa) ซึ่งเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศเอธิโอเปีย (Ethiopia) กาแฟจึงได้ชื่อเรียกตามจังหวัดนี้ และยังได้เรียกแตกต่างกันออกไปอีกมาก สมัยนั้นไม่มีผู้ใดให้ความสนใจเท่าใดนัก จนกระทั่งล่วงเลยมาถึงศตวรรษที่ 9 กาแฟจึงได้ชื่อว่า คาห์วาห์ (Qahwah) หมายถึง การกระตุ้น ทำให้สดชื่น คำว่า คาห์วาห์ แปลว่า ไวน์ แต่เครื่องดื่มไวน์เป็นของต้องห้ามในศาสนา กาแฟจึงได้ชื่อว่า ไวน์แห่งอาหรับ (Wine of Araby)


Coffee Coffee

          ต่อมาการเรียกชื่อกาแฟจึงเปลี่ยนแปลงไปตามแหล่งต่างๆของโลก เช่น คัฟฟี (Koffee) อิตาลีเรียกว่า “คาเฟ่” (Café) อังกฤษเรียกว่า“คอฟฟี”(coffee) อันเป็นชื่อที่รู้จักและใช้ในปัจจุบันนี้ เมื่อมาถึงประเทศไทยคนไทยเรียกว่า โกปี๊ ข้าวแฝ่ และกาแฟในที่สุด

          ตามตำนาน กล่าวว่า มีเด็กเลี้ยงแพะชาวอาราเบียคนหนึ่งชื่อคาลดี (Kaldi) นำแพะออกไปเลี้ยงและสังเกตเห็นว่าแพะของเขากระโดดโลดเต้นไปมาเมื่อได้กินผลไม้ชนิดหนึ่งคล้ายผลเชอรี่ของต้นกาแฟป่า ด้วยความอยากรู้เขาจึงชิมผลไม้นั้นด้วยตัวเอง และต้องประหลาดใจกับความสดชื่นมีชีวิตชีวาที่เขาได้รับข่าวดังกล่าวแพร่หลายอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งทราบไปถึงผู้สอนศาสนาจึงทดลองนำผลเชอรี่ดังกล่าวไปแช่น้ำและดื่มน้ำนั้นดูทำให้เกิดความรู้สึกกระฉับกระเฉง จึงเป็นต้นกำเนิดของการดื่มน้ำผลเบอรี่หรือผลกาแฟนั่นเอง

          ความนิยมของกาแฟเริ่มแพร่กระจายในอาหรับมากขึ้น กระทั่งในปี คศ.1534 สุลตานแห่งอิสตันบูล นามว่า ออสโตมัส สั่งประกาศให้เป็นสิ่งผิดกฏหมายแต่เหมือนยิ่งห้ามก็เหมือนยิ่งยุหนึ่งปีต่อมากาแฟเป้นที่นิยมมากขึ้นและมีร้านกาแฟเกิดขึ้น เป็นที่พบปะของเหล่านักคิด นักปราชญ์ศิลปิน แต่องค์กรศาสนากลับมองว่าร้านกาแฟเป็นที่ซ่องสุมทำให้คนไม่สนใจศาสนา จึงประกาศว่า กาแฟเป็นเครื่องดื่มสีดำมืดของปีศาจซาตาน ความนิยมในกาแฟจึงลดลง กระทั่งยุคของสมเด็จสันปะปาคลีเมนที่ 13 ได้ทดลองเครื่องดื่มดังกล่าว และประกาศว่าแท้จริงแล้วกาแฟมิได้เป็นอย่างข้อกล่าวหา กาแฟจึงกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งหนึ่ง


          ในช่วงศตวรรษที่ 15 กาแฟปลูกโดยชาวอาหรับเท่านั้น ชาวอาหรับหวงแหนพันธ์กาแฟมาก แต่ในที่สุดเมล็ดกาแฟก็เล็ดรอดออกมาสู่โลกกว้างเนื่องจากการค้าขายระหว่างเวนิสกับแอฟริกาเหนือ อียิปต์ และตะวันออกกลางที่เจริญขึ้น ทำให้อิตาลีได้รับสินค้าใหม่ๆเข้ามา รวมทั้งกาแฟด้วย หลังจากนั้นการดื่มกาแฟเริ่มแพร่หลายไปอย่างกว้างขวาง ต่อมามีการนำผลกาแฟไปเผยแพร่แก่ชาวยุโรป ทำให้เครื่องดื่มชนิดนี้แพร่หลายไปทั่วยุโรปอย่างรวดเร็ว กาแฟได้แพร่กระจายไปยัง อียิปต์และเยเมน และในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 กาแฟได้แพร่ไปทั่วตะวันออกกลางทั้งหมดรวมทั้ง เปอร์เซีย ตุรกีและแอฟริกาเหนือ

Coffee
Coffee
 
Coffee
 

          ร้านกาแฟแห่งแรกในทวีปยุโรปเปิดในอิตาลีในปี ค.ศ. 1645 หลังจากนั้น กาแฟได้เข้าสู่ทวีปอเมริกาเหนือในช่วงของยุคอาณานิคม แต่ว่าไม่ได้รับความนิยมมากเท่ากับในทวีปยุโรป อย่างไรก็ตามในช่วงสงครามปฏิวัติอเมริกัน ปริมาณความต้องการกาแฟได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนพวกพ่อค้ากักตุนสินค้าเอาไว้และปั่นราคาขึ้นอย่างกะทันหัน ซึ่งบางส่วนเป็นผลมาจากการที่พ่อค้าชาวอังกฤษไม่สามารถนำเข้าชาได้มากนัก

Coffee
Coffee
coffee
          หลังจากสงครามปี 1812 ในช่วงที่อังกฤษงดการนำเข้าชาเป็นการชั่วคราว ชาวอเมริกันจึงหันมาดื่มกาแฟแทน และมีปริมาณความต้องการสูงมากในช่วงสงครามกลางเมืองอเมริกัน ทำให้กาแฟกลายเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมในสหรัฐอเมริกา จนถึงปัจจุบัน

          การแพร่หลายของกาแฟจากเอธิโอเปีย มาสู่ตะวันออกกลาง มีหลายทาง ชีค (Sheikh) ได้รายงานในปี พ.ศ. 2109 โดยให้เครดิน กับ ดมาเลดดินอาบูเอลฟลาเกอร์ (Djmaled dinabou Elflager) นำกาแฟมาจาก อบิสซิเนีย มาปลูกไว้ในอะราเบีย (Arabia) ในต้นศตวรรษที่ 15 ชาวดัทช์เป็นพวกแรกที่นำกาแฟอะราเบีย (ที่มาของกาแฟพันธุ์อาราบิก้า) ไปปลูกในแหล่งอื่นๆ ของโลก

          ในปี พ.ศ. 2159 ได้นำกาแฟจากเมืองโมคา (Mocha) ไปปลูกที่ ประเทศเนเธอร์แลนด์

          ในปี พ.ศ. 2201 ชาวดัทช์ได้ทำสวนกาแฟขึ้นที่อาณานิคมเกาะศรีลังกา

Coffee

 

          ในปี พ.ศ. 2233 ข้าหลวงใหญ่ของดัทช์อีสต์ ชื่อ นิโคลาส วิทเซน (Nicholas Witsen) ได้แนะนำให้ข้าหลวงใหญ่แห่งปัตตาเวียนำเมล็ดกาแฟมาปลูกที่ปัตตาเวีย อินโดนีเซีย

 

Coffee


          ในปี พ.ศ. 2241 เจ้าเมืองแห่งอัมสเตอร์ดัม (Burgomaster of Amsterdam) ได้ส่งต้นกาแฟมาจากเมืองมาลาบาร์ (Malabar) ไปปลูกที่ฝั่งตะวันตกของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งต้นกาแฟเหล่านี้ คือ กาแฟอาราบิก้าที่ได้นำเมล็ดมาจากอาหรับปลูกไว้ที่สวนกาแฟเคดาเวียง (Kedawoeng Estate) ทั้งหมด

          ต่อมาเกิดแผ่นดินไหวและน้ำท่วมต้นกาแฟที่นำมาปลูกตายหมด ชวาดกร็อน (Zwaardkron) ได้ถูกส่งไปยังลาบาร์ ในปี พ.ศ. 2242 เพื่อนำเมล็ดกาแฟมาปลูกที่ปัตตาเวียอีกครั้งหนึ่งต่อมาได้ขยายไปทั่วอินโดนีเซีย เช่น สุมาตรา สุลาเวสี (ซีลีเบสเดิม) บาหลี ติมอร์ และเกาะอื่นๆ กาแฟอาราบิก้าพันธุ์นี้ภายหลังได้ชื่อว่า กาแฟอาราบิก้าพันธุ์ ทิปปิก้า (Coffee Arabica var. Typica)

            ในปี พ.ศ. 2251 เรือฝรั่งเศส 2 ลำ ได้ถูกส่งไปยังเมืองโมคา เพื่อซื้อกล้าพันธุ์กาแฟและเมล็ดกาแฟจากชีค ชาวอาหรับไปปลูกที่เมืองเบอร์บอน (Bourbon) ในเกาะรียูเนียน (Reunion) ของฝรั่งเศส แต่ต้นกาแฟตายหมด
coffee
 
Coffee

Coffee

          ในปี พ.ศ.2258 ก็ได้ส่งเรือไปซื้อเมล็ดกาแฟไปปลูกที่เกาะรียูเนียนอีก แต่การปลูกกาแฟที่เกาะรียูเนียนประสบความล้มเหลวคงเหลือกาแฟที่มีชีวิตรอดอยู่เพียง 2 ต้นเท่านั้น ครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ. 2261 ได้นำเมล็ดกาแฟจากเมืองโมคาไปปลูกไว้ที่เกาะรียูเนียนอีกครั้ง คราวนี้ประสบผลสำเร็จอย่างดี ต่อมาจึงขยายเป็นสวนกาแฟที่กว้างใหญ่ปลูกกันแพร่หลายเป็นที่รู้จักกันในนาม กาแฟอาราบิก้าพันธุ์เบอร์บอน (Coffee Arabica var. Bourbon)

          กาแฟในประเทศอินเดีย
เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2143-2238 นักแสวงบุญชาวมุสลิม ชื่อ บาบา บูดาน (Baba Budan) เดินทางไปร่วมพิธีฮัจญ์ที่เมืองเม็กกะ ขากลับได้นำเมล็ดกาแฟจากเม็กกะมาปลูกไว้ที่เชิงเขาใกล้บ้านที่เมืองชิคมากาลอร์ (Chikmagalur) ในรัฐไมซอร์ (Mysor) ต่อมาได้ขยายพันธุ์ออกไปอย่างกว้างขวาง ระยะหลังเมื่ออังกฤษเข้าครอบครองประเทศอินเดีย ชาวอังกฤษได้ทำสวนกาแฟใหญ่โตขึ้นที่เมืองชิคมากาลอร์และ เมืองคุก (Coorg)

 

Coffee


Coffee

 

          สวนกาแฟได้กระจายไปยังแถบภูเขานิลคีรีของรัฐทมิฬนาดู ซึ่งต่อมา กาแฟอาราบิก้าพันธุ์นี้ จึงมีชื่อว่า คุก (Coorg)

          ประเทศแรกในอาณานิคมของฝรั่งเศสที่ปลูกกาแฟ คือ มาร์ตินิค (Martinique) และเมล็ดกาแฟจากมาร์ตินิคเป็นศูนย์กลางที่นำไปปลูกเผยแพร่แก่แหล่งปลูกกาแฟต่างๆ เกือบทั่วโลก เช่น นำไปปลูกที่ภูเขา บลู เมาเทน (Blue Mountain) เกาะจาไมก้า ซึ่งเป็นภูเขาสูง อากาศหนาวเย็น ทำให้กาแฟที่ปลูกมีรสชาติดีเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก จึงได้ชื่อตามสถานที่ปลูกว่า “บลูเมาเทน เครเมอร์” (Blue Mountain Cramer)

 

Coffee

 

          เมื่อนำไปปลูกขยายพันธุ์ที่เมืองเบเร็มและพาราของบราซิล อีก 100 ปีต่อมา บราซิลกลายเป็นประเทศที่ปลูกกาแฟมากที่สุดในโลกและสามารถควบคุมตลาดของกาแฟไว้อย่างสมบูรณ์ ต่อมากาแฟอาราบิก้าพันธุ์นี้ได้แพร่ขยายเข้าสู่ประเทศในแถบอเมริกากลางตลอดจนถึงอเมริกาใต้ชั่วเวลาไม่ถึงศตวรรษและถูกเรียกว่า French Mission ในปี ค.ศ. 1700 เริ่มมีการนำต้นกาแฟไปปลูกแถบอเมริกาใต้ซึ่งกลายเป็นที่นิยมปลูกกันมากในระยะเวลาต่อมาปัจจุบันพื้นที่แถบอเมริกาใต้ปลูกกาแฟมากกว่า 19 ล้านตัน


Coffee

          ภูมิประเทศที่เหมาะสมสำหรับปลูกกาแฟอยู่บริเวณแนวขนานของเส้นศูนย์สูตร และบริเวณใต้เส้นศูนย์สูตร หรือประเทศเขตร้อน ปัจจุบันมี 44 ประเทศ ที่เป็นสมาชิกขององค์การผู้ปลูกกาแฟ ได้แก่ Angola, Bolivia, Brazil, Burundi, Cameroon, Central African, Columbia, Congo, Congo Republic of, Costa Rica, Cuba, Dominican, El Salvador, Equatorial Guinea, Gabon, Ghana, Guatemala, Guinea, Haiti, Honduras, India, Indonesia, Jamaica, Kenya, Madagascar, Malawi, Mexico, Nicaragua, Nigeria, Papua New Guinea, Paraguay, Philippines, Rwanda, Tanzania, Togo, Uganda, Venezuela, Vietnam, Zambia, Zimbabwe, Thailand ประเทศที่ปลูกและให้ผลผลิตกาแฟเป็นอันดับ 1 ได้แก่ บราซิล รองลงมา คือ โคลัมเบีย และอินโดนีเซียตามลำดับ

          ประเทศไทย มีผลผลิตกาแฟประมาณ 80,000 – 100,000 ตัน / ปี สัดส่วนการบริโภคภายในประเทศประมาณ 30,000 ตัน และอีก 70,000 ตันส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศโดยมีตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา, แคนาดา, สเปน, เยอรมัน, อิตาลี, เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น ฯลฯ ปัจจุบันกาแฟถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำให้เกิดอุตสาหกรรมหลักและมีการซื้อขายเป็นอันดับสองรองจากปิโตรเลียม (Petroleum)

Back to Article
 
Hot Line 087-516-0330
  • Olives
  • Feliz
  • Akbar
  • Schaerer
  • Crathco
  • Nuova
  • Rancilio
  • WestBend
  • Waring
  • Vitamix
  • Cofrimell
บริการจัดเลี้ยงนอกสถานที่ | แคเทอริ่ง | คอฟฟี่เบรค | น้ำชายามบ่าย | ค๊อกเทล | ออกร้าน | ปาร์ตี้ | เครื่องดื่ม | อาหารว่างในกล่อง (เซ๊ทอาหารว่าง)
Outside Catering Service   Catering   Coffee Break   High Tea   Cocktails   Grand Opening/Exhibition   Party   Beverage   Snack Box
COPYRIGHT © 2009 The Refresher Co., Ltd.